ทำความรู้จักกับ Carbon Footprint of Organization (CFO)หรือ “การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” ว่าคืออะไร

ความรู้

เมษายน 30, 2025

คุณรู้หรือไม่? ทุกครั้งที่เราเปิดแอร์ขณะประชุม ส่งของผ่านรถขนส่ง หรือแม้แต่เปิดไฟในสำนักงาน ล้วนมีร่องรอยของ “ก๊าซเรือนกระจก” ที่มองไม่เห็นแฝงอยู่ และเมื่อนำกิจกรรมทั้งหมดในองค์กรมารวมกัน จะกลายเป็นตัวเลขสำคัญที่เรียกว่า Carbon Footprint ซึ่งสะท้อนผลกระทบที่องค์กรมีต่อสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี

บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Carbon Footprint of Organization (CFO) หรือ “การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” ว่าคืออะไร ตรวจสอบอย่างไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และที่สำคัญมันบอกอะไรกับเราบ้าง ?

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรืออยู่ในองค์กรที่ต้องการยืนอยู่ในโลกอย่างยั่งยืน นี่คือข้อมูลที่คุณไม่ควรพลาด

Carbon Footprint คืออะไร ?


คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณรวมของก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการหนึ่งๆ ตลอดวัฏจักรชีวิตของมัน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การขนส่ง การใช้งาน จนถึงการกำจัดทิ้ง ไม่ใช่แค่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงก๊าซอื่นๆ อย่าง ก๊าซมีเทน หรือแม้แต่ ก๊าซหัวเราะ (ไนตรัสออกไซด์) ที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนไม่แพ้กัน กิจกรรมที่เราทำกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ไฟฟ้า ขับรถ เปิดแอร์ หรือกระบวนการผลิตในโรงงาน ต่างก็เป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเหล่านี้ทั้งสิ้น

การหาค่า Carbon Footprint ขององค์กร หรือที่เรียกว่า Carbon Footprint of Organization (CFO) คือการวัดค่าการปล่อย GHG ที่เกิดขึ้นในองค์กรในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้องค์กรเข้าใจผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อม

CFO คืออะไร ?

CFO (Carbon Footprint for Organization) หรือที่เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร คือ การวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่องค์กรปล่อยออกมา จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปี โดยแสดงผลในรูปของ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO₂e) ตัวอย่างกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้ไฟฟ้าและเชื้อเพลิง การขนส่งและการเดินทาง การจัดการของเสีย กระบวนการผลิตในโรงงาน เป็นต้น

การประเมิน CFO แบ่งออกเป็น 3 ประเภท (Scopes)

การทำ CFO เป็นการตรวจสอบการปล่อย GHG (greenhouse gas emission) ทั้ง 7 ชนิด โดยเปรียบเทียบกับ CO2 ซึ่งใช้เป็นค่าอ้างอิง และแบ่งการตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นออกเป็น 3 Scope ดังนี้

Scope 1 : Direct Emission

การปล่อย GHG ทางตรงที่องค์กรควบคุมได้ เช่น

  • การเผาไหม้ของน้ำมันในรถขนส่งของโรงงาน
  • การรั่วไหลของสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ
  • การเกิด CH4 ในบ่อน้ำเสีย
  • การเกิด CH4 ของระบบ septic tank

Scope 2 : Indirect Emission

การปล่อย GHG ทางอ้อม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ที่องค์กรต้องซื้อจากภายนอก เช่น การซื้อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากฟอสซิล พลังงานไอน้ำ พลังงานความร้อน

Scope 3 : Other Indirect Emissions

การปล่อย GHG ทางอ้อม ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในองค์กร โดยแหล่งที่มาอยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์กร เช่น

  • การใช่้นำประปา
  • การได้มาของวัตถุดิบในการผลิต
  • การใช้บริการขนส่งของบุคคลที่สาม เป็นต้น
  • การเกิด CH4 ของระบบ septic tank

ในการเลือกหัวข้อของ scope 3 จะเลือกกิจกรรมที่ส่งผลต่อการปล่อย GHG ขององค์กรในปริมาณที่มีนัยสำคัญ

ทำไม CFO จึงสำคัญ

การวัดค่า CFO ไม่เพียงช่วยให้องค์กร เข้าใจผลกระทบของกิจกรรมต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการ

  • ช่วยวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในด้านความยั่งยืนให้กับลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุน
  • สอดคล้องกับมาตรฐาน ESG และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

CFO บอกอะไรบ้าง

  • วางแผนการลดการปล่อย GHG ในปีถัดไป
  • วิเคราะห์ ส่วนที่สามารถพัฒนาเพื่อลดการปล่อย GHG ได้ โดยยังคงผลิตสินค้าได้เท่าเดิมหรือมากขึ้น พร้อมกับช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร เช่น การปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ
  • เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้ก้บคู่ค้า และลูกค้าที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามไม่ว่าองค์กรใด หากสามารถลดการปล่อย GHG ลงได้ในทุกปี จะได้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการปรับปรุงการดำเนินงานและต้นทุน นอกจากนี้ ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

และนอน บริษัท แบ็กส์แอนด์โกล์ฟ จำกัด ของเรา ให้ความสำคัญกับการทำ CFO เป็นอย่างมาก และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องของการลดการปล่อยก๊าสเรือนกระจกในภาคการผลิต จึงได้มีนโยบายเรื่องการทำ  CFO ในปีแรกคือ 2565 และมีนโยบายในการจัดทำต่อเนื่องทุกปี เพื่อวัดความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคการผลิตของบริษัท โดยขอการรับรองจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเลขที่ทางบริษัทได้คำนวณว่า มีความถูกต้อง โปร่งใส สามารถนำไปใช้ได้จริง และบริษัทฯ สามารถนำข้อมูลที่ได้นี้ไปจัดทำนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นไปได้จริงของบริษัท

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรู้

PLA คืออะไร? รู้จักกับพลาสติกชีวภาพ ตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

PLA (Polylactic Acid)  เป็นพลาสติกชีวภาพชนิดหนึ่ง ที่จั…

CPE คือ

ความรู้

พลาสติก CPE คือ อะไร? คุณสมบัติ การใช้งาน และข้อดีที่ควรรู้

หากพูดถึงวัสดุพลาสติกที่มีความทนทานสูง ยืดหยุ่นดี และใช…

Uncategorized, ความรู้

PFAS คืออะไร? ทำไมจึงต้องมีการตรวจสอบและควบคุม

PFAS หรือ Per- and Polyfluoroalkyl Substances เป็นกลุ่ม…

HDPE คือ

ความรู้

HDPE คืออะไร ? มีคุณสมบัติและข้อดีอย่างไรบ้าง

HDPE คือ พลาสติกที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แล…