Greenhouse Gas (GHG) คืออะไร ?

ความรู้

กุมภาพันธ์ 28, 2025

โลกของเรา เป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่ในปัจจุบันนั้น โลกของเรากำลังอุ่นขึ้น เห็นได้จากน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือ เช่น กรีนแลนด์ และขั้วโลกใต้ เช่น แอนตาร์กติกา ละลายเร็วขึ้น โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินไป ก๊าซเรือนกระจกมีทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ แล้วก๊าซเรือนกระจกคืออะไร? วันนี้เรามีคำตอบให้คุณ

Greenhouse Gas (GHG) หรือ ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?

Greenhouse Gas (GHG) หรือที่เรียกกันว่า ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งก๊าซเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของโลก GHG ทำหน้าที่เสมือนอนผ้าห่มที่ช่วยกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในชั้นบรรยากาศ เพื่อรักษาความสมดุลของอุณหภูมิ ก๊าซเหล่านี้สามารถดูดซับและปล่อยรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้โลกไม่ร้อนจัดในเวลากลางวันหรือเย็นจัดในเวลากลางคืน กระบวนการนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Gas Effect)

ก๊าซเรือนกระจกหลักๆ หรือ Greenhouse Gas มีอะไรบ้าง ?

คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide – CO₂)

  • แหล่งกำเนิด:
    • การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ)
    • โรงงานอุตสาหกรรม
    • การตัดไม้ทำลายป่า (เพราะต้นไม้ช่วยดูด CO₂)
    • การเผาขยะ/วัสดุอินทรีย์
  • คุณสมบัติ:
    • อยู่ในอากาศนาน 100–1,000 ปี
    • คิดเป็นก๊าซเรือนกระจกประมาณ 75% ของทั้งหมด
    • เป็นก๊าซที่มนุษย์ปล่อยออกมามากที่สุด
  • ผลกระทบ:
    • ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ
    • เป็นตัวหลักที่ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อน

มีเทน (Methane – CH₄)

  • แหล่งกำเนิด:
    • การย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว
    • นาข้าว (การหมักของอินทรียวัตถุใต้น้ำ)
    • การสลายตัวของขยะอินทรีย์ในหลุมฝังกลบ
    • การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ
  • คุณสมบัติ:
    • อยู่ในบรรยากาศประมาณ 12 ปี
    • มีศักยภาพเรือนกระจก (GWP) มากกว่า CO₂ ประมาณ 25 เท่า
  • ผลกระทบ:
    • ทำให้โลกอุ่นเร็วขึ้นในช่วงเวลาสั้น
    • มีผลต่อโอโซนชั้นล่าง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพอากาศ

ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide – N₂O)

  • แหล่งกำเนิด:
    • ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการเกษตร (โดยเฉพาะในดินชื้น)
    • การเผาชีวมวล เช่น ฟางข้าว กิ่งไม้
    • อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น การผลิตไนลอน
  • คุณสมบัติ:
    • อยู่ในอากาศได้ 114 ปี โดยเฉลี่ย
    • มีศักยภาพในการกักเก็บความร้อนมากกว่า CO₂ ถึง 298 เท่า
  • ผลกระทบ:
    • ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ
    • มีผลกระทบต่อทั้งโลกร้อนและสุขภาพของมนุษย์

ก๊าซฟลูออริเนต (Fluorinated Gases)

  • กลุ่มหลัก:
    • HFCs (Hydrofluorocarbons): ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น
    • PFCs (Perfluorocarbons): จากอุตสาหกรรมชิพและเซมิคอนดักเตอร์
    • SF₆ (Sulfur hexafluoride): ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เป็นฉนวนในหม้อแปลงไฟฟ้า
    • NF₃ (Nitrogen trifluoride): ใช้ในอุตสาหกรรมแผงโซลาร์เซลล์
  • คุณสมบัติ:
    • ศักยภาพเรือนกระจก สูงมาก:
    • HFCs ~ 1,000 เท่า
    • PFCs ~ 6,500–9,000 เท่า
    • SF₆ สูงสุดถึง 23,500 เท่า
    • อยู่ในอากาศได้ หลายร้อยถึงพันปี
  • ผลกระทบ:
    • แม้จะมีปริมาณน้อย แต่มีผลกระทบสูงมาก
    • ส่วนใหญ่เกิดจากอุตสาหกรรมและไม่สามารถย่อยสลายเองได้ในธรรมชาติ

แม้จะมีปริมาณในบรรยากาศน้อย แต่พลังในการกักเก็บความร้อนสูงมาก (บางชนิดมากกว่า CO₂ หลายพันเท่า!) และอยู่ในอากาศนานหลายพันปี

สรุปเทียบพลังเรือนกระจก (Global Warming Potential – GWP) แบบง่ายๆ

ก๊าซสัดส่วนในบรรยากาศGWP*
(เทียบกับ CO₂)
อายุในอากาศแหล่งกำเนิดหลัก
CO₂~75%1 เท่า100–1,000 ปีพลังงาน, ป่าไม้
CH₄~16%25 เท่า~12 ปีปศุสัตว์, ขยะ
N₂O~6%298 เท่า~114 ปีปุ๋ยเคมี
F-Gases<2%1,000–23,500 เท่าหลายร้อย–พันปีอุตสาหกรรม

ถ้าไม่มี Greenhouse Gas (GHG) หรือ มีน้อยจนเกินไป โลกจะเป็นอย่างไร ?

หากไม่มี Greenhouse Gas (GHG) โลกจะได้รับความร้อนโดยตรงจากดวงอาทิตย์ ไม่มีการกักเก็บความร้อน พื้นผิวโลกจะร้อนจัดในเวลากลางวัน เมื่อความร้อนถูกปล่อยออกไป รังสีความร้อนจะกระจายออกนอกโลกเกือบทั้งหมด ส่งผลให้เวลากลางคืนหนาวจัด อุณหภูมิบนโลกจะผันผวนอย่างรุนแรง จนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้

การมี Greenhouse Gas (GHG) ในปริมาณที่เหมาะสม โลกจะเป็นอย่างไร ?

เมื่อโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ Greenhouse Gas (GHG) จะดูดซับความร้อนไว้ส่วนหนี่ง ส่วนที่เหลือจะส่งผ่านไปยังโลก เมื่อเกิดการคลายความร้อน Greenhouse Gas (GHG) ก็ดูดซับความร้อนไว้ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือก็ส่งออกนอกโลก ทำให้อุณหภูมิบนโลกคงที่และเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

การมี Greenhouse Gas (GHG) ในปริมาณที่มากเกินพอดี โลกจะเป็นอย่างไร ?

เมื่อโลกได้รับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ Greenhouse Gas (GHG) ที่สะสมอยู่ในปริมาณมากในชั้นบรรยากาศ จะทำให้การดูดซับและคลายความร้อนไม่สมดุลกัน ความร้อนจำนวนมากจะถูกกักเก็บไว้มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก และนี่ก็เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

การสะสมของ Greenhouse Gas (GHG) ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้สภาพอากาศในโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง Global Warming (ภาวะโลกร้อน) หมายถึงอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ Climate Change (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์สุดขั้วมากมาย ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ฤดูกาลแปรปรวน พายุรุนแรงขึ้น ธารน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และการแพร่ระบาดของโรคที่รุนแรงขึ้น ทั้งหมดนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศบนโลกใบนี้อย่างมาก

บริษัท แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ ให้ความสำคัญกับ Greenhouse Gas (GHG) หรือก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างมาก โดยที่โรงงานผลิตของเรามี Project Net Zero คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 50% ภายในปี 2030 และบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ผ่านการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรู้

มาตรฐาน ISO เครื่องยืนยันความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ Bags and Gloves

มาตรฐาน ISO หรือ International Organization for Standar…

PE คือ

ความรู้

PE คืออะไร? ใช้ทำอะไรได้บ้าง วัสดุที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน

พลาสติก PE คือ วัสดุที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยและพบเห็นได้ใน…

ความรู้

ก๊าซเรือนกระจก กับ คาร์บอนฟุตพริ้นท์และการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เคยสงสัยไหมว่า กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรามีส่วนทำให้เ…

LDPE คือ

ความรู้

LDPE คืออะไร? รู้จักกับคุณสมบัติและการใช้งานของพลาสติก LDPE

เมื่อต้องพูดถึงวัสดุพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น และสามารถน…